หลักการเขียนอ้างอิง (References) ไม่ว่าจะใช้รูปแบบใดก็ตาม มีวัตถุประสงค์หลักคือการให้ผู้อ่านสามารถสืบค้นแหล่งที่มาของข้อมูลได้อย่างถูกต้องและครบถ้วน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีรายละเอียดต่าง ๆ ประกอบอย่างครบถ้วน เพื่อยืนยันว่าแหล่งข้อมูลมาจากที่ใด โดยทั่วไป การอ้างอิงจะระบุข้อมูลสำคัญดังนี้:
เนื่องจากสื่อที่เผยแพร่มีหลายประเภท จึงมีการกำหนดรูปแบบการเขียนอ้างอิงสำหรับแต่ละชนิดไว้อย่างละเอียด เพื่อความเป็นระเบียบของงานเขียน ในรายงานวิชาโครงงาน จะการใช้อ้างอิงตามรูปแบบ IEEE ซึ่งเป็นรูปแบบที่นิยมใช้อย่างแพร่หลายในการเขียนบทความทางวิศวกรรมไฟฟ้า ดังนั้น การทำความคุ้นเคยกับรูปแบบการอ้างอิงนี้ตั้งแต่เริ่มต้นเขียนรายงานจึงเป็นสิ่งสำคัญ
[1] M. Al-Kuwari, A. Ramadan, Y. Ismael, L. Al-Sughair, A. Gastli and M. Benammar, "Smart-home automation using IoT-based sensing and monitoring platform," 2018 IEEE 12th International Conference on Compatibility, Power Electronics and Power Engineering (CPE-POWERENG 2018), Doha, Qatar, 2018, pp. 1-6, doi: 10.1109/CPE.2018.8372548.
[2] M. Y. Metwly, M. S. Abdel-Majeed, A. S. Abdel-Khalik, R. A. Hamdy, M. S. Hamad and S. Ahmed, "A Review of Integrated On-Board EV Battery Chargers: Advanced Topologies, Recent Developments and Optimal Selection of FSCW Slot/Pole Combination," in IEEE Access, vol. 8, pp. 85216-85242, 2020, doi: 10.1109/ACCESS.2020.2992741.
[3] “Electric vehicle charging explained,” Nrdc.org. [Online]. Available: https://www.nrdc.org/stories/electric-vehicle-charging-explained. [Accessed: 16-Jun-2023].
การเข้าถึงจาก IEEE Xplore (หากต้องการอ่านบทความเต็ม ต้องเข้าผ่านเครือข่ายมหาวิทยาลัยเท่านั้น) เป็นแหล่งข้อมูลแนะนำ เนื่องจากมีความน่าเชื่อถือและง่ายต่อการสร้างการอ้างอิง
วิธีการ
เมื่อค้นหาบทความที่มีการเผยแพร่ในฐานข้อมูล IEEE Xplore จะมีตัวเลือก “Cite This” สำหรับการนำไปอ้างอิงเมื่อกดเข้าไปจะปรากฏรูปแบบการเขียนที่สามารถนำไปวางในรายงานได้